4 ฉนวนกันความร้อนที่ควรมีในหน้าร้อนนี้ จะร้อนไหนก็เอาอยู่

4 ฉนวนกันความร้อนที่ควรมีในหน้าร้อนนี้ จะร้อนไหนก็เอาอยู่

ฉนวนกันความร้อนสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงแดด โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยช่วงหน้าร้อนที่อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ความร้อนจากนอกอาคารที่ทะลุผ่านเข้ามาภายในอาคารไม่เพียงแต่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และสุขภาพของพนักงาน แต่ยังเพิ่มค่าใช้จ่ายจากเครื่องปรับอากาศที่ทำงานหนักเกินไปอาจต้องมีการซ่อมแซมบ่อยเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้นการติดฉนวนกันความร้อนจะช่วยให้ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย

การเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  ควรศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบของฉนวนแต่ละชนิดให้ละเอียด และในบทความนี้จะขอนำเสนอ 4 ฉนวนกันความร้อนที่ช่วยลดความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม แม้ในวันที่อากาศร้อนจัดก็เอาอยู่

4 ฉนวนกันความร้อน มีดังนี้

  1. ฉนวนโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam)

โดยทั่วไปจะถูกเรียกโดยย่อว่า PU. FOAM หรือ โฟมเหลือง เกิดจากเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน เป็นฉนวนที่มีข้อดี คือ สามารถคงสภาพเดิมได้แม้จะโดนน้ำ หรือความชื้น ช่วยให้โครงสร้างหลังคาแข็งแรงขึ้น ช่วยให้โครงหลังคาไม่เกิดสนิม เคลือบติดแน่น ไม่หลุดล่อน น้ำหนับเบาแต่แข็งแรง ทนทานต่อกรด และด่าง ลดอุณหภูมิภายในอาคารได้ดีช่วยให้อากาศเย็นสบาย ฉนวนโพลียูรีเทนยังมีทั้งแบบฉีดพ่นใต้หลังคา และแบบแผ่น สำหรับใส่ในช่องว่างของกำแพง Double Wall ช่วยเสริมประสิทธิภาพการกันการส่งผ่านของความร้อนจากภายนอกสู่ผนังอาคาร

  1. ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass)

ผลิตจากเส้นใยแก้วที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูป มีทั้งฉนวนรุ่นม้วน (Blanket) ฉนวนรุ่นแผ่น (Board) และฉนวนรุ่นหุ้มท่อ (Pipe Cover) ฉนวนใยแก้วนี้เป็นฉนวนเส้นใยแบบเซลล์เปิด (Open Cell) จัดเป็นวัสดุประเภทไม่ลามไฟ มีทั้งวัสดุแบบปิดผิว และไม่มีวัสดุปิดผิวขึ้นอยู่กับการใช้งาน วัสดุปิดผิวส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เพื่อใช้ป้องกันไอน้ำ และความชื้น ซึ่งช่วยปกป้องให้ฉนวนใยแก้วไม่ถูกสัมผัสด้วยน้ำ และความชื้นจึงช่วยเพิ่มความคงทนยิ่งขึ้น

  1. ฉนวนยางดำ (EPDM RUBBER)

ฉนวนชนิดท่อ และแผ่นที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร์ชนิดพิเศษ (EPDM) เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร์ชนิดพิเศษ (EPDM) มีลักษณะเป็นแผ่นหรือท่อสีดำ ประกอบไปด้วยเซลล์อิสระที่มีผนังกั้น ไม่ทะลุถึงกัน ภายในเซลล์บรรจุด้วยอากาศ มีคุณสมบัติการนำความร้อน  (K- Value) ต่ำเพียง 0.038 W/mk ค่าการแทรกซึมไอน้ำหรือความชื้นต่ำมาก มีความยืดหยุ่นสูง ติดตั้งง่ายเหมาะสำหรับงานภายในอาคาร

  1. ฉนวนใยหิน (Rock Wool)

ผลิตมาจากหินธรรมชาติผ่านกระบวนการผลิตที่อุณหภูมิสูงหลอมเหลวเป็นเส้นใย มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนสูง ดูดซับเสียงได้ดี เป็นวัสดุกันไฟ และมีอายุการใช้งานยาวนาน ฉนวนใยหินมีค่าการนำความร้อนต่ำ ช่วยให้สามารถกักเก็บความร้อนภายในอาคารได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในผนัง หลังคา พื้น และท่อ ฉนวนใยหินไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน จึงเป็นวัสดุที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน

สรุปแล้วประเด็นสำคัญของบทความนี้ คือ 4 ฉนวนกันความร้อนที่ช่วยลดความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม โดยฉนวนกันความร้อนที่ได้กล่าวมามีคุณสมบัติที่กันความร้อนได้จริงช่วยสะท้อนความร้อนจากภายนอกที่จะเข้ามาภายในโรงงานนั้นเอง หากผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนในโรงงาน สามารถติดต่อขอข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม และขอคำปรึกษาได้กับ

บริษัท บางกอก พาเนล แอนด์ ไพพ์ อินซูเลชั่น จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตฉนวนโพลียูรีเทนโฟม (Pu. Foam) และยังเป็นตัวแทนจำหน่ายฉนวนประเภทต่าง ๆ สำหรับหมวดอุตสาหกรรม และบ้านพักอาศัย ทั้งฉนวนกันความร้อน กันความเย็น และกันเสียง ด้วยประสบการณ์ในงานด้านฉนวนกว่า 20 ปี ลูกค้าจึงมั่นใจได้ทั้งในคุณภาพของสินค้าฉนวนโพลียูเรเทน และบริการงานติดตั้งประเภทต่าง ๆ จากทางบริษัท

สนใจติดต่อ บริษัท บางกอก พาเนล แอนด์ ไพพ์ อินซูเลชั่น จำกัด

แผนกสินค้าและบริการ 

โทร. 02-814-6082-4

มือถือ. 086-359-2614

แฟกซ์. 02-814-6085

Line : Sales-bppi

Email : info@bkk-panelandpipe.com

แผนกฉีดพ่นพียูโฟม

โทร. 02-814-5970-3

มือถือ. 086-310-5089

แฟกซ์. 02-814-5974

Line : BANGKOKINSULATE

www.bkk-panelandpipe.com

Share this post